0% 0 votes, 0 avg 6340 หมดเวลาในการทำข้อสอบแล้ว ขอบคุณ แนวข้อสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย ตอนที่ 2 ตอนที่ 2 : ประมวลกฏหมายและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันวินาศภัย คำชี้แจง : ข้อสอบตอนที่ 2 มีจำนวนทั้งหมด 110 ข้อ (เกณฑ์สอบ “ผ่าน” ต้องตอบถูก 60% คือ 66 ข้อ รวม 132 คะแนน) 1 / 110 1. สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อใด ก. เมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัทประกันภัยแล้ว ข. เมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ประกันภัยและชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยแล้ว ค. เมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยแล้ว ง. เมื่อบริษัทประกันภัยตกลงรับประกันภัย แม้มิได้มีลายลักษณ์อักษร 2 / 110 2. บุคคลผู้ซึ่งตกลงจะส่งเงิน ซึ่งเรียกว่า "เบี้ยประกันภัย" หมายถึง ก. ผู้เอาประกันภัย ข. ผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย ค. ผู้รับประโยชน์ ง. ถูกทุกข้อ 3 / 110 3. การประกันภัยค้ำจุนคืออะไร ก. การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอกตามกฎหมาย ข. การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองในการขนส่ง ค. การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองรถยนต์ของผู้เอาประกันภัยสูญหายหรือไฟไหม้ ง. การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อตัวรถยนต์ที่ได้รับความเสียหาย 4 / 110 4. ลักษณะสำคัญของสัญญาประกันภัย คือ ก. เป็นสัญญาต่างตอบแทน ข. เป็นสัญญาที่ต้องอาศัยหลักสุจริตต่อกันอย่างยิ่ง ค. เป็นสัญญาที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงสามารถฟ้องร้องบังคับได้ ง. ถูกทุกข้อ 5 / 110 5. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ "ราคาแห่งประมูลประกันภัย" หมายความถึง ก. ราคาของวัตถุที่เอาประกันภัย ข. ราคาของวัตถุที่เอาประกันภัย หักด้วยราคาความเสื่อมสภาพ ค. ราคาของส่วนได้เสียที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันภัย ง. ราคาที่จะได้รับการชดใช้เมื่อเกิดความเสียหาย 6 / 110 6. ข้อใดไม่ถูกต้องตามกฎหมายในกรณีที่ได้ทำประกันภัยทรัพย์สินสิ่งเดียวกันหลายบริษัทประกันภัย ก. ผู้เอาประกันภัย จะได้รับการชดใช้จากแต่ละบริษัทประกันภัยเท่า ๆ กัน ข. ผู้เอาประกันภัย จะได้รับการชดใช้ทั้งหมดตามจำนวนที่ตนได้รับความเสียหายจริง ค. ผู้รับประกันภัย จะต้องทำการชดใช้แบ่งตามสัดส่วนที่ตนได้รับประกันภัยไว้ ง. ผู้รับประกันภัย จะต้องทำการชดใช้ก่อนหลังตามลำดับวันเวลาการรับประกันภัย 7 / 110 7. นายสายเช่าตึก 2 ชั้น ซึ่งมีมูลค่า 1,200,000 บาท ของนายสิงห์ในราคาเดือนละ10,000 บาท นายสายได้ทำประกันอัคคีภัยตึกที่เช่าไว้กับบริษัท รุ่งเรืองประกันภัย จำกัดในวงเงินเอาประกันภัย 800,000 บาท ต่อมาอีก 1 เดือน ได้ทำประกันอัคคีภัยตึกดังกล่าวกับบริษัท ส่องแสงประกันภัย จำกัด อีก 400,000 บาท รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์อีกในวงเงิน 100,000 บาท โดยทั้ง 2 กรมธรรม์มีนายสายเป็นผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ ต่อมาเกิดไฟฟ้าลัดวงจรไฟไหม้เสียหายตึกชั้น 2 ราคาที่ประเมินความเสียหายเป็นเงิน 200,000 บาท โดยเฟอร์นิเจอร์เสียหาย 20,000 บาท นายสายจะได้รับค่าสินไหมทดแทนอย่างไร ก. ได้รับจากบริษัท รุ่งเรืองประกันภัย จำกัด 200,000 บาท ได้รับค่าเสียหายเฟอร์นิเจอร์จากบริษัท ส่องแสงประกันภัย จำกัด อีก 20,000 บาท ข. ได้รับจากบริษัท รุ่งเรืองประกันภัย จำกัด 150,000 บาท ได้รับค่าเสียหายจากบริษัทส่องแสงประกันภัย จำกัด เป็นค่าตึก 50,000 บาท ค่าเฟอร์นิเจอร์อีก 20,000 บาท ค. ได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเฟอร์นิเจอร์จากบริษัท ส่องแสงประกันภัยจำกัด 20,000 บาท ง. ไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนใดๆ เลย 8 / 110 8. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ ก. หลักสุจริตต่อกันอย่างยิ่ง ข. หลักส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย ค. หลักการรับช่วงสิทธิ์ ง. หลักการโอนสิทธิ์ 9 / 110 9. กรมธรรม์ประกันภัยกฎหมายกำหนดให้มีรายการดังต่อไปนี้เสมอ ก. ราคาแห่งมูลประกันภัย ข. วัตถุที่เอาประกันภัย ค. ชื่อผู้รับประโยชน์ ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และข้อ ค. 10 / 110 10. สัญญาประกันภัยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ฝ่าย คือ ก. ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และผู้ชำระเบี้ยประกันภัย ข. ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และตัวแทนนายหน้าประกันภัย ค. ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และผู้ขอเอาประกันภัย ง. ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และผู้รับประโยชน์ 11 / 110 11. บุคคลภายนอกในกรณีการประกันภัยค้ำจุน หมายถึง ก. บุคคลทุกคนที่มิใช่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย ข. บุคคลที่มิใช่คนในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย ค. บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของผู้เอาประกันภัย ง. ถูกทุกข้อ 12 / 110 12. ลักษณะของสัญญาประกันภัย เป็นสัญญาประเภทใด ก. เป็นสัญญาต่างตอบแทน ข. เป็นสัญญาที่ต้องลงลายมือชื่อทั้ง 2 ฝ่าย ค. เป็นสัญญาที่ต้องมีการรับผิดต่อบุคคลภายนอก ง. ถูกทุกข้อ 13 / 110 13. วัตถุต่อไปนี้สิ่งใดเอาประกันภัยไม่ได้ ก. ความซื่อสัตย์สุจริตของมนุษย์ ข. ความประมาทเลินเล่อของมนุษย์ ค. ความรับผิดในวิชาชีพซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะ ง. ไม่มีข้อใดถูก 14 / 110 14. โมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ก. การกระทำที่ใช้บังคับได้ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกล้างสัญญา ข. การกระทำที่เสียเปล่ามาแต่ต้นไม่มีผลบังคับได้เลย ค. การกระทำที่ถือได้ว่าขัดต่อกฎหมาย ถือว่าไม่มีการแสดงเจตนา ง. การกระทำที่สมบูรณ์เฉพาะบางส่วนจนกว่าจะให้สัตยาบัน 15 / 110 15. คำว่า "ผู้เอาประกันภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ก. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย ข. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ค. บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน ง. บุคคลผู้จะพึงได้รับเบี้ยประกันภัย 16 / 110 16. ผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประโยชน์จะเป็นบุคคลเดียวกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ก. ได้ เพราะกฎหมายระบุไว้ ข. ไม่ได้ เพราะกฎหมายห้ามไว้ ค. ไม่ได้ เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการประกันภัย ง. ได้หรือไม่แล้วแต่บริษัทประกันภัยจะอนุมัติให้เป็นราย ๆ ไป 17 / 110 17. คำว่า "ผู้รับประกันภัย" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายความถึง ก. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ ข. ตัวแทนประกันภัยผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท ค. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย ง. บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน 18 / 110 18. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียกว่า ก. ผู้รับประโยชน์ ข. ผู้เอาประกันภัย ค. ผู้รับประกันภัย ง. ถูกทุกข้อ 19 / 110 19. สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่มีการตกลงระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ก. ผู้รับประกันภัยฝ่ายหนึ่งกับผู้รับประโยชน์ฝ่ายหนึ่ง ข. ผู้รับประกันภัยฝ่ายหนึ่งกับผู้เอาประกันภัยฝ่ายหนึ่ง ค. ผู้รับประกันภัยฝ่ายหนึ่งกับตัวแทนประกันภัยฝ่ายหนึ่ง ง. ผู้รับประกันภัยฝ่ายหนึ่งกับนายหน้าประกันภัยฝ่ายหนึ่ง 20 / 110 20. คำว่า "ผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย" ตามความหมายของการประกันภัย หมายถึง ก. บุคคลที่เป็นทายาทโดยธรรมของผู้เอาประกันภัย ข. บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการเอาประกันภัย ค. บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ง. ถูกทุกข้อ 21 / 110 3. ข้อสอบวิชาพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว (20 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน) 21. การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยในประเทศไทย มีกฎหมายที่ใช้กำกับ คือ ก. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ข. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ค. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 ง. ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค. 22 / 110 22. บริษัทที่จะประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยได้ จะต้องได้รับใบอนุญาตจาก ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี 23 / 110 23. นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 คือ ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ข. เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ง. ปลัดกระทรวงการคลัง www.SIIKIUng-prakan.COm 24 / 110 24. บริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ จะตั้งสาขาของบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยได้หรือไม่ ก. ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ข ได้ โดยต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ค. ได้ โดยต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ง. ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ห้ามไว้ 25 / 110 25. บริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งมิใช่สาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศจะเปิดสาขาได้ต้องได้รับใบอนุญาตจากใคร ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ข. นายทะเบียน ค. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ง. ปลัดกระทรวงการคลัง 26 / 110 26. สาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยแล้ว จะดำเนินการเปิดสาขาเพิ่มอีกได้หรือไม่ ก. ได้ โดยต้องได้รับอนุญาตให้เปิดสาขาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ข. ได้ โดยต้องได้รับใบอนุญาตให้เปิดสาขาจากนายทะเบียน ค.ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ห้ามไว้ ง. ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะบริษัทประกันภัยมีสิทธิกระทำได้ 27 / 110 27. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการกำกับใคร ก. สาขาของบริษัทประกันวินาศภัย ข. บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ค. ตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย ง. ถูกทุกข้อ 28 / 110 28. บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จะควบรวมกับบริษัทประกันวินาศภัยอื่นได้หรือไม่ ก. ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงการคลัง ข. ไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายห้ามไว้ ค. ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ง. ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 29 / 110 29. บริษัท รุ่งฟ้าประกันชีวิต จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจประกันชีวิต และบริษัท ทอแสงประกันภัยจำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ทั้งสองบริษัทประสงค์จะควบรวมบริษัทเข้าด้วยกันจะกระทำได้หรือไม่ ก. ได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงการคลัง ข ไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายห้ามไว้ ค. ได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ง. ได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี 30 / 110 30. บริษัทประกันวินาศภัยต้องจัดสรรเงินสำรองไว้เพื่อ ก. เงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันภัย ข. เงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทน ค. เงินสำรองเพื่อการอื่น ตามที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยประกาศกำหนด ง. ถูกทุกข้อ 31 / 110 31. คำว่า "ตัวแทนประกันวินาศภัย" ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 หมายความว่า ก. ผู้ซึ่งบริษัทประกันภัยมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย ข. ผู้ซึ่งชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย ค. ผู้ซึ่งชี้ช่อง ให้บุคคลทำสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัทประกันภัย โดยหวังบำเหน็จเนื่องจากการนั้น ง. ผู้ซึ่งจัดการ ให้บุคคลทำสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัทประกันภัย โดยหวังบำเหน็จเนื่องจากการนั้น 32 / 110 32. คำว่า "นายหน้าประกันวินาศภัย" ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 หมายความว่า ก. ผู้ซึ่งบริษัทประกันภัยมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย ข. ผู้ซึ่งชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการนั้น ค. ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย โดยกระทำเพื่อหวังบำเหน็จเนื่องจากการนั้น ง. ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้มีอำนาจตกลงรับประกันภัยแทนบริษัทประกันภัย 33 / 110 33. บริษัทประกันภัยสามารถตั้งหรือมอบหมายบุคคลใดต่อไปนี้ให้เป็นผู้รับชำระเบี้ยประกันภัยแทนบริษัทประกันภัย ก. ตัวแทนประกันวินาศภัย ข. นายหน้าประกันวินาศภัย ค. พนักงานของบริษัทประกันภัย ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน ง. ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค. 34 / 110 34. ผู้ที่จะกระทำการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย จะต้องได้รับอนุญาต ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ข. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ค. นายทะเบียน ง. ปลัดกระทรวงการคลัง 35 / 110 35. ผู้ใดกระทำการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนต้องระวางโทษ ก. จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข. จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ค. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ง. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 36 / 110 36. นายเด่นซึ่งเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยแล้ว จะมาขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยอีกจะกระทำได้หรือไม่ ก. ได้ แต่ต้องขออนุญาตจากบริษัทประกันวินาศภัย ข. ไม่ได้ เพราะกฎหมายห้ามไว้ ค. ได้ แต่ต้องขออนุญาตจากนายทะเบียน ง. ได้ แต่ต้องขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 37 / 110 37. ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ได้กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับเรื่องอายุของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยไว้อย่างไร ก. ต้องมีอายุ 15 ปี ข. ต้องมีอายุ 18 ปี ค. ต้องมีอายุ 19 ปี ง. บรรลุนิติภาวะ 38 / 110 38. ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง ก. เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ขอรับใบอนุญาต ข. บุคคลอื่นอาจยืมไปใช้เพื่อขอรับค่าบำเหน็จนายหน้าจากบริษัทประกันภัยได้ ค. บุคคลอื่นอาจยืมไปแสดงต่อผู้เอาประกันภัยในการชักชวนให้มาทำสัญญาประกันภัยได้ ง. บุคคลอื่นอาจยืมไปใช้เพื่อทำหน้าที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยช่วงได้ 39 / 110 39. บริษัทประกันวินาศภัย จะจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บุคคลที่จะช่วยให้มีการทำสัญญาประกันวินาศภัย โดยบุคคลนั้นไม่ได้รับอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทประกันภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยได้หรือไม่ ก. ได้ โดยไม่มีเงื่อนไข ข. ไม่ได้ เพราะกฎหมายห้ามไว้ ค. ได้ ถ้าได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนเป็นราย ๆ ไป ง. ได้ ถ้าได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นราย ๆ ไป 40 / 110 40. ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการออกใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย คือ ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ข. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ค. นายทะเบียน ง. ปลัดกระทรวงการคลัง 41 / 110 4. ข้อสอบวิชาหลักการประกันวินาศภัย จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ( 14 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน ) 41. คำว่า “จำนวนเงินเอาประกันภัย” (Sum Insured) หมายถึง ก. จำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ข. จำนวนเงินสูงสุดที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิด ค. จำนวนเงินสูงสุดที่ผู้เอาประกันภัยจะสามารถเรียกร้องได้ ง. ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค. 42 / 110 42. ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยได้ หมายถึง ก. ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการที่ทรัพย์สินนั้น ๆ เมื่อคงสภาพอยู่หรือจะได้รับความเสียหายจากการที่ทรัพย์สินนั้นถูกทำลายไป ข. ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพย์สินนั้น ๆ เมื่อคงสภาพอยู่ หรือจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเมื่อทรัพย์สินนั้นถูกทำลายไป ค. ผู้ที่มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินนั้นๆ เมื่อคงสภาพอยู่ หรือเมื่อทรัพย์สินนั้นๆ ถูกทำลายไป ง. ถูกทุกข้อ 43 / 110 43. ส่วนได้เสียที่เอาประกันภัยได้ มีอะไรบ้าง ก. กรรมสิทธิ์ ข. สิทธิตามกฎหมาย ค. ความรับผิดตามกฎหมาย ง. ถูกทุกข้อ 44 / 110 44. ข้อใดหมายถึงผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย ก. เจ้าของทรัพย์สิน ข. ผู้ให้เช่าซื้อ ค. ผู้ครอบครองทรัพย์ตามสัญญาเช่า ง. ถูกทุกข้อ 45 / 110 45. ข้อใดไม่ถูกต้องตามหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ก. ต้องเป็นค่าเสียหาย ณ สถานที่และในเวลาที่เกิดภัยขึ้น ข. ต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ค. ตามจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะเรียกร้อง ง. ไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ 46 / 110 46. ข้อใดคือหลักการของการประกันภัยที่กำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องเปิดเผยข้อความจริงโดยสุจริตอย่างยิ่ง ก. ข้อความจริงเหล่านั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้เอาประกันภัยแต่เพียงฝ่ายเดียว ข. ข้อความจริงเหล่านั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย แต่เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงนั้นให้ผู้รับประกันภัยทราบโดยกฎหมาย ค. ข้อความจริงเหล่านั้นเป็นข้อความจริงที่ผู้รับประกันภัยจะใช้พิจารณาเพื่อตัดสินใจเข้ารับการเสี่ยงภัยหรือไม่ และคิดเบี้ยประกันภัยเท่าใด ง. ถูกทั้ง ข้อ ก. และข้อ ค. 47 / 110 47. คำว่า “ความรับผิดส่วนแรก (Deductible)” หมายถึง ก. จำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนส่วนแรกที่บริษัทประกันภัยต้องรับผิด ข. จำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ค. ส่วนลดเบี้ยประกันภัย ง. ส่วนลดอุปกรณ์ดับเพลิง 48 / 110 48. ตามปกติแล้วผู้รับประกันภัยต้องเชื่อในคำบอกเล่าของผู้เอาประกันภัยว่าผู้เอาประกันภัยจะไม่ชักนำให้หลงเชื่อในเหตุการณ์ที่ไม่จริง ซึ่งจะทำให้การประมาณการเสี่ยงภัยผิดพลาด มิฉะนั้นสัญญานั้นจะ ก. โมฆียะ ข. โมฆะ ค. สมบูรณ์ ง. สมบูรณ์ แต่ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นอีก 49 / 110 49. คำว่า “สินไหมกรุณา (Ex-Gratia payment)” หมายถึง ก. จำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัยจ่ายให้แก่ผู้เรียกร้องค่าเสียหาย แม้จะมีความเห็นว่าไม่ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยก็ตาม ข. จำนวนเงินตามแต่ที่ผู้รับประกันภัยจะพิจารณา ค. จำนวนเงินที่จ่ายเกินจำนวนเงินที่เอาประกันภัย ง. จำนวนเงินเพิ่มเติมที่ผู้รับประกันจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย เนื่องจากผู้เอาประกันภัยจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม 50 / 110 50. หลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริง หมายความว่า ก. การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ข. การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจริงจำนวนเงินเอาประกันภัย ค. การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัย ง. การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามแต่ที่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยจะตกลงกัน 51 / 110 51. คำว่า “ภัย (Peril)” หมายถึง ก. ความเสียหาย ข. โอกาสที่เกิดความเสียหาย ค. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นหรือลดลง ง. สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย 52 / 110 52. หลักการที่ให้สิทธิแก่ผู้รับประกันภัยไปเรียกร้องค่าเสียหายคืนจากผู้ทำละเมิด หมายถึง การใช้สิทธิตามหลักการประกันภัยข้อใด ก. หลักการชดใช้ค่าเสียหายตามความเป็นจริง ข. หลักการรับช่วงสิทธิ์ ค. หลักการร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ง. หลักการชดใช้ค่าเสียหายตามความจริงและหลักการรับช่วงสิทธิ์ 53 / 110 53. คำว่า “ภาวะภัยทางศีลธรรม (Moral Hazard)” หมายถึง ก. การกระทำโดยทุจริตเพื่อหวังเงินค่าสินไหมทดแทน ข. การกระทำโดยขาดสติเพื่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ค. การกระทำโดยจงใจโดยหวังค่าตอบแทนจากผู้จ้าง ง. ไม่มีข้อใดถูก 54 / 110 54. ข้อใดไม่เกี่ยวกับหลักสุจริตใจอย่างยิ่ง ก. การเปิดเผยข้อความจริง ข. การไม่แถลงข้อความเท็จ ค. การไม่แสวงหากำไรจากการประกันภัย ง. การปฏิบัติตามข้อรับรอง 55 / 110 5. ข้อสอบวิชาการประกันอัคคีภัยและการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ( 14 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน ) 55. ผู้เอาประกันภัยสามารถทำประกันอัคคีภัย โดยกำหนดระยะเวลาเอาประกันภัยสูงสุดกี่ปี ก. 2 ปี ข. 3 ปี ค. 4 ปี ง. 5 ปี 56 / 110 56. ภัยธรรมชาติที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้จากการประกันอัคคีภัย คือภัยในข้อใด ก. ภัยแผ่นดินไหว ข. ภัยน้ำท่วม ค. ภัยจากลูกเห็บ ง. ภัยจากการทรุดตัวของแผ่นดิน 57 / 110 57. หน้าที่รักษาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยหลังจากเกิดอัคคีภัยเป็นหน้าที่ของผู้ใด ก. บริษัทประกันภัย ข. ผู้เอาประกันภัย ค. ผู้สำรวจภัย ง. ตัวแทนและนายหน้า 58 / 110 58. ข้อใดมิใช่ประโยชน์ของใบสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย ก. เพื่อแก้ไขรายละเอียดในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยให้ถูกต้อง ข. เพื่อเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์และหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ค. เพื่อลดขอบเขตความคุ้มครองตามสัญญาประกันอัคคีภัย ง. เพื่อให้ความคุ้มครองชั่วคราวแก่ผู้เอาประกันภัย 59 / 110 59. หากต้องการทำประกันอัคคีภัยโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ท่านคิดว่าควรแนะนำให้ซื้อความคุ้มครองถึงภัยเพิ่มประเภทใด ก. ภัยลมพายุ ข. ภัยระอุ ค. ภัยจากควัน ง. ภัยระเบิด 60 / 110 60. ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมาตรฐาน จะให้ความคุ้มครอง "โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ"สำหรับความเสียหายไม่เกิน....บาท เว้นแต่จะได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น ก. 2,000 ข. 3,000 ค. 5,000 ง. 10,000 61 / 110 61. ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมาตรฐานการเก็บเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าสำหรับการประกันภัยสต๊อกสินค้าที่มีเงื่อนไขพิเศษการประกันภัยแบบกระแสรายวันคิดเป็นอัตราร้อยละเท่าไรของเบี้ยประกันภัยเต็มปี ก. ร้อยละ 50 ข. ร้อยละ 55 ค. ร้อยละ 70 ง. ร้อยละ 75 62 / 110 62. ทรัพย์สินในข้อใดที่ได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมาตรฐาน ก. เครื่องเรือน ข. ภาพเขียน ค. ต้นฉบับเอกสาร ง. ทองคำ 63 / 110 63. ข้อใดมิใช่ทรัพย์สินซึ่งจัดเป็นข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ก. เงินแท่ง ทองแท่ง อัญมณี ข. สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ ค. กล้องถ่ายรูป ง. วัตถุโบราณ 64 / 110 64. หากเกิดการระเบิดขึ้นจากแก๊สที่ใช้ในร้านสุกี้ เป็นผลให้เกิดไฟไหม้ ทำให้อาคารได้รับความเสียหายบางส่วนหากเจ้าของร้านมีการทำประกันอัคคีภัยแต่ไม่ได้ซื้อความคุ้มครองถึงภัยระเบิด เจ้าของร้านดังกล่าวจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร ก. ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความเสียหายในส่วนที่เกิดจากการระเบิดเท่านั้น ข. ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งความเสียหายที่เกิดจากการระเบิดและไฟไหม้ ค. ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความเสียหายในส่วนที่เกิดจากเพลิงไหม้เท่านั้น ง. ผู้รับประกันภัยจะไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากไม่ได้ซื้อความคุ้มครองชื่อคาถึงภัยระเบิด 65 / 110 65. คำว่า "สาเหตุใกล้ชิด (Proximate Clause)" หมายถึง ก. ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยที่ใกล้เคียงกับวินาศภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย ข. ต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงหรือเป็นเหตุต่อเนื่อง โดยไม่ขาดตอนที่ทำให้เกิดความเสียหาย ค. สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความเสียหาย ง. สาเหตุแห่งความเสียหายที่ซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ 66 / 110 66. หากผู้เอาประกันภัยทำประกันอัคคีภัยโดยตรงกับผู้รับประกันภัย โดยไม่ผ่านตัวแทน หรือนายหน้าประกันวินาศภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยในอัตราร้อยละเท่าไร ก. ไม่เกินร้อยละ 12 ข. ไม่เกินร้อยละ 18 ค. ไม่เกินร้อยละ 20 ง. ไม่เกินร้อยละ 23 67 / 110 67. นายสมชายเปิดกิจการร้านขายของชำและได้ทำประกันอัคคีภัยไว้กับบริษัท โชคดีประกันภัย จำกัด ต่อมาประสบกับการขาดทุนจนต้องปิดกิจการลง สถานที่ดังกล่าวจึงใช้เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น กรณีนี้นายสมชายจะสามารถขอคืนเบี้ยประกันภัยเนื่องจากสภาพความเสี่ยงภัยเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ก. ไม่ได้ เพราะลือเป็นร้านค้าตั้งแต่เริ่มทำประกันภัย ข. ไม่ได้ เพราะผิดหลักการประกันภัย ค. ได้ เพราะสภาพความเสี่ยงภัยลดลง ง. แล้วแต่บริษัทจะพิจารณา 68 / 110 68. อาคารที่มีความสูงตั้งแต่กี่ชั้นขึ้นไป จึงจะคิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มสำหรับความสูงของอาคาร ก. 7 ชั้น ข. 10 ชั้น ค. 12 ชั้น ง. 15 ชั้น 69 / 110 6. วิชาการประกันภัยรถยนต์ จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ( 14 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน ) 69. นายสันติทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ไว้กับบริษัท สงเคราะห์ประกันภัย จำกัด ระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้น 12 มิถุนายน 2543 สิ้นสุด 12 มิถุนายน 2544 ถ้ารถยนต์คันดังกล่าวไปประสบอุบัติเหตุในวันที่ 12 มิถุนายน 2544 ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ เพราะเหตุใด ก. ไม่คุ้มครอง เพราะในวันที่ 12 มิถุนายน 2544 กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับแล้ว ข. คุ้มครอง เพราะในวันที่ 12 มิถุนายน 2544 เป็นวันสุดท้ายที่กรมธรรม์ประกันภัยยังมีผลคุ้มครองอยู่ ค. คุ้มครอง หากอุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นภายใน 16.30 น. ของวันที่ 12 มิถุนายน 2544 ง. ผิดทุกข้อ 70 / 110 70. ข้อใดมิใช่ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ก. ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายของบุคคลภายนอก ข. ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย ค. ความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย ง. การประกันตัวผู้ขับขี่ 71 / 110 71. นายแดงเจ้าของนำรถยนต์ไปทำประกันภัยไว้กับบริษัท อู่ข้าวประกันภัย จำกัด ต่อมานายแดงได้โอนขายให้แก่นายดำโดยไม่ได้มีการแจ้งการโอนขายดังกล่าวให้บริษัท อู่ข้าวประกันภัย จำกัด ทราบ ถ้ารถยนต์คันดังกล่าวไปเกิดอุบัติเหตุ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ เพราะเหตุใด ก. เมื่อไม่มีการแจ้งการโอนให้บริษัท อู่ข้าวประกันภัย จำกัด ทราบ กรมธรรม์ประกันภัยจึงสิ้นผลบังคับความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง ข. แม้ไม่มีการแจ้งโอนกรมธรรม์ประกันภัยก็ยังมีผลคุ้มครองต่อไป โดยถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัยคนใหม่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงยังคงได้รับความคุ้มครอง ค. เมื่อบริษัท อู่ข้าวประกันภัย จำกัด ยังไม่ออกสลักหลังเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกันภัยความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง ง. แม้บริษัท อู่ข้าวประกันภัย จำกัด ยังไม่ออกสลักหลังเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกันภัยแต่หากมีการแจ้งการโอนให้บริษัทประกันภัยทราบ กรมธรรม์ประกันภัยก็ยังมีผลคุ้มครองต่อไป ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงยังคงได้รับความคุ้มครอง 72 / 110 72. ข้อใดเป็นความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 ก. ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินบุคคลภายนอก ความเสียหายต่อรถยนต์ ข. ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินบุคคลภายนอก รถยนต์สูญหาย ไฟใหม้ ค. ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินบุคคลภายนอก การประกันตัวผู้ขับขี่ ง. ความเสียหายต่อรถยนต์ รถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ 73 / 110 73. ข้อใดเป็นลักษณะการใช้รถยนต์ ก. การใช้ส่วนบุคคล ข. รถยนต์ป้ายแดง ค. รถพยาบาล ง. ถูกหมดทุกข้อ 74 / 110 74. ข้อใดมิใช่ปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ก. ขนาดรถยนต์ ข. อายุผู้ขับขี่ ค. อาชีพผู้ขับขี่ ง. อุปกรณ์เพิ่มพิเศษ 75 / 110 75. หากผู้เอาประกันภัยขอรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรก (Deductible) สำหรับความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยอย่างไร ก. ลด 100% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก ข. 3,000 บาท แรกลด 100% ส่วนเกิน 3,000 บาท ลด 10% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก ค. 5,000 บาท แรกลด 100% ส่วนเกิน 5,000 บาท ลด 10% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก ง. 10,000 บาท แรกลด 100% ส่วนเกิน 10,000 บาท ลด 10% ของจำนวนเงินความเสียหายส่วนแรก 76 / 110 76. กรณีรถ 2 คัน ซึ่งต่างก็จัดให้มีการประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกันโดยยังไม่ทราบฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดผู้ประสบภัยที่เป็นผู้โดยสารในรถจะขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากที่ใด ก. จ่ายเงินเอง ข. โดยสารรถคันใดมา ให้ยื่นขอรับค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยให้ย่นรถคันนั้น ค. รถของคู่กรณี ง. กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย 77 / 110 77. การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จะขอรับได้ในกรณีใด ก. ไม่ทราบว่ารถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย หรือชนแล้วหนี ข. อุบัติเหตุเกิดจากรถที่ถูกลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์หรือถูกยักยอก และเจ้าของแจ้งความต่อเจ้าพนักงานสอบสวนไว้แล้ว ค. ประสบอุบัติเหตุจากรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีการประกันภัยตามกฎหมาย ง. ถูกทุกข้อ 78 / 110 78. ผู้ประสบภัยจากรถในข้อใด สามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ก. รถของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งในขณะเกิดเหตุได้ทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ไว้แล้ว ข. รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาลซึ่งในขณะเกิดเหตุได้ทำประกันภัยตาพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 ไว้แล้ว ค. รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนก่อนที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 ประกาศใช้ และได้ทำประกันภัยไว้แล้ว ง. รถยนต์มีประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535แต่ถูกโจรกรรมไป และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน 79 / 110 79. นายกิ่งลูกรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชน แล้วรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหนีไป นายกิ่งถูกนำตัวเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิรินุสรณ์ แต่นายกิ่งไม่มีเงินจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลถามว่านายกิ่งควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะดีที่สุด ก. ยืมเงินผู้อื่นมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล แล้วนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกกับบริษัทประกันภัย ข. ยืมเงินผู้อื่นมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล แล้วนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ค. มอบอำนาจให้โรงพยาบาลศิรินุสรณ์ไปขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ง. มอบอำนาจให้โรงพยาบาลศิรินุสรณ์ไปขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัย 80 / 110 80. ในกรณีที่รถซึ่งเจ้าของได้เอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 ไว้กับบริษัทประกันภัย ได้โอนไปยังบุคคลอื่น ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง ก. ให้ถือว่าการประกันภัยสิ้นสุดลง เนื่องจากผู้เอาประกันภัยเดิมไม่มีส่วนได้เสียในรถที่เอาประกันภัยอีกต่อไป ข. ให้ถือว่าการประกันภัยสิ้นสุดลง แล้วให้ผู้เอาประกันภัยเดิมสามารถรับเบี้ยประกันคืนตามอัตราคืนเบี้ยประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ค. กรมธรรม์ประกันภัยนั้นจะยังคงมีผลคุ้มครองต่อไปจนสิ้นสุดระยะเวลาเอาประกันภัย ง. ผิดทุกข้อ 81 / 110 81. หากหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบภัยสูญหาย ผู้ประสบภัยจะทำอย่างไรที่จะแสดงหลักฐานการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ก. หลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย ข. ใช้สำเนาทะเบียนบ้านแทน ค. ใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่กรมการขนส่งทางบกออกให้ ง. ถูกทุกข้อ 82 / 110 82. กรณีเจ้าของรถได้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัยและได้โอนไปยังบุคคลอื่นโดยผลของกฎหมาย บริษัทประกันภัยนั้นต้องรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ ก. ไม่ต้อง เพราะถือว่าเปลี่ยนแปลงเจ้าของรถ ข. ต้องรับผิดชอบ เพราะถือว่าผู้ที่ได้มาซึ่งรถดังกล่าวมีฐานะเสมือนผู้เอาประกันภัย ค. ไม่ต้อง เพราะต้องให้เจ้าของรถบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยก่อน ง. ไม่ต้องรับผิด เพราะไม่มีชื่อระบุอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัย 83 / 110 7.ข้อสอบวิชาการประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ( 14 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน ) 83. สัญญาประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล แบบ MAR Form จะเริ่มต้นคุ้มครองเมื่อ ก. สินค้าเก็บอยู่ในยานพาหนะซึ่งจอดอยู่ในโกดังหรือสถานที่เก็บสินค้า ข. สินค้าอยู่ในเรือเพื่อเตรียมที่จะขนส่งไปยังจุดหมายปลายทาง ค. สินค้าที่เคลื่อนออกจากโกดัง หรือสถานที่เก็บสินค้าที่ระบุไว้ ง. สินค้าเก็บอยู่ ณ ท่าต้นทางของผู้ส่งสินค้า 84 / 110 84. ในการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล ภัยที่ ICC (C) ไม่ให้ความคุ้มครอง คือ ก. อัคคีภัย ข. ระเบิด ค. เรือเกยตื้น ง. แผ่นดินไหว 85 / 110 85. ผู้เอาประกันภัยได้ซื้อความคุ้มครองภัยจากสงครามในกรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล หากเกิดความเสียหายจากสงคราม จะได้รับความคุ้มครองได้หรือไม่ ก. ได้ เฉพาะสินค้าที่อยู่ ณ เมืองท่าต้นทาง ข. ได้ เฉพาะสินค้าที่อยู่บนเรือเดินสมุทร ค. ได้ เฉพาะสินค้าที่อยู่ในโกดังเก็บสินค้า ง. ได้ เฉพาะสินค้าที่อยู่บนรถบรรทุก 86 / 110 86. การรับรองโดยปริยาย (Implied Warranties) ที่ใช้ในการประกันภัยทางทะเลและการขนส่งมีอะไรบ้าง ก. ความพร้อมในการออกทะเล และความชอบด้วยกฎหมาย ข. ความพร้อมในการออกทะเล และการรับช่วงสิทธิ์ ค. ความพร้อมในการออกทะเล และการเปิดเผยข้อเท็จจริง ง. ความพร้อมในการออกทะเล และความสุจริตใจอย่างยิ่ง 87 / 110 87. จำนวนเงินเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล โดยทั่วไปจะกำหนดจาก ก. กำหนดตามราคา CIF ข. กำหนดตามราคา CFR ค. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข. ง. กำหนดตามราคา CIF หรือ CFR บวก 10% 88 / 110 88. โดยทั่วไปการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล ผู้รับประกันภัยจะเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่มในกรณีที่เรือมีอายุเกินกว่า ก. 10 ปี ข. 15 ปี ค. 20 ปี ง. 25 ปี 89 / 110 89. หลังจากที่กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลมีผลบังคับแล้ว ผู้เอาประกันภัยมีความประสงค์จะเปลี่ยนจุดหมายปลายทางได้หรือไม่ ก. ได้เมื่อมีการแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบโดยเบี้ยประกันภัยและเงื่อนไขไม่เปลี่ยนแปลง ข. ได้ เมื่อมีการแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบ โดยได้ตกลงเก็บเบี้ยประกันภัยและปรับปรุงเงื่อนไขใหม่ ค. แก้ไขไม่ได้ ง. กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโดยผู้เอาประกันภัยไม่ต้องแจ้งผู้รับประกันภัย 90 / 110 90. ในการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล ความเสียหายที่เสมือนเสียหายโดยสิ้นเชิง คืออะไร ก. ค่าขนส่งและค่าซ่อมแซมสินค้ามีมูลค่าเกินกว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยหรือราคาสินค้า ข. ความเสียหายของสินค้าที่หมดสภาพของการเป็นวัตถุที่เอาประกันภัย เช่น ผงปูนกลายเป็นคอนกรีต ค. สินค้าตกทะเล ไม่สามารถกู้ขึ้นมาได้ ง. สินค้าถูกไฟไหม้ 91 / 110 91. ข้อใดไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของกรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลแบบเปิด ก. ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติสำหรับสินค้าทุกเที่ยว ข. ผู้เอาประกันภัยจะสามารถทราบล่วงหน้าได้ว่าอัตราเบี้ยประกันภัยจะเป็นเท่าใด ค. ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องแจ้งผู้รับประกันภัยเมื่อมีสินค้าเข้ามาในระหว่างปี ง. ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องกังวลว่าจะลืมทำประกันภัย 92 / 110 92. ข้อใดเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล ก. เรือที่ใช้ในการขนส่ง ข. เส้นทางการขนส่ง ค. ลักษณะของหีบห่อที่บรรจุสินค้า ง. ถูกทุกข้อ 93 / 110 93. ในการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล เงื่อนไขใดที่ให้ความคุ้มครองกว้างที่สุด ก. ICC (A) ข. ICC (B) ค. ICC (C) ง. ICC (D) 94 / 110 94. การผิดนัดทางการเงินของเจ้าของเรือทำให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าของผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลหรือไม่ ก. ไม่ได้ เพราะเป็นข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัย ข. ไม่ได้ หากสินค้านั้นยังอยู่บนเรือเดินสมุทร ค. ไม่ได้ เพราะไม่แจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบ ง. ได้ ถ้ามีการตกลงไว้กับผู้เอาประกันภัย 95 / 110 95. การประกันภัยตัวเรือจะสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติในกรณีที่ ก. มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติของเรือ ข. มีการเปลี่ยนแปลงสมาคมมาตรฐานเรือ ค. มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของเรือ ง. ถูกทุกข้อ 96 / 110 96. กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลจะสิ้นสุดเมื่อใด ก. ส่งถึงโกดังของผู้รับสินค้า ณ สถานที่เก็บสินค้าปลายทางที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ข. ครบกำหนด 60 วัน หลังจากสินค้าได้ถูกขนถ่ายขึ้นจากเรือเดินทะเล ณ ท่าเรือปลายทาง ค. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข. แล้วแต่เหตุการณ์ใดเกิดที่หลัง ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข. แล้วแต่เหตุการณ์ใดเกิดก่อน 97 / 110 8. ข้อสอบวิชาการประกันภัยเบ็ดเตล็ด จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ( 14 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน ) 97. นายสมชายมีอาชีพขับรถแท็กซี่ และได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุไว้กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ต่อมานายสมชายถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร และต้องปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามผู้ก่อการร้ายจนเสียชีวิต นายสมชายจะได้รับค่าทดแทนหรือไม่ ก. ไม่ได้ เพราะเป็นข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัยเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ในการ ปราบปราม ข. ไม่ได้ เพราะไม่ได้แจ้งบริษัทประกันภัยว่าจะไปเป็นทหาร ค. ได้ เพราะตอนที่ทำประกันภัยไม่ได้เป็นทหาร ง. ได้ แต่จำนวนเท่าที่เบี้ยประกันภัยเดิมจะซื้อความคุ้มครองตามอาชีพทหารได้ 98 / 110 98. นายสมบัติทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้กับบริษัท แสงทองประกันภัย จำกัด ในวงเงินเอาประกันภัย 300,000 บาท และกับบริษัท แสงเงินประกันภัย จำกัด ในวงเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท ต่อมานายสมบัติเสียชีวิตจากการถูกรถชน และได้รับเงินชดเชยจากผู้ที่ขับรถมาชน 300,000 บาท ทายาทของนายสมบัติ จะเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยได้อีกหรือไม่ ก. ได้จากบริษัท แสงทองประกันภัย จำกัด 300,000 บาท และจากบริษัท แสงเงิน ประกันภัย จำกัด 200,000 บาท รวม 500,000 บาท ข. ได้เฉพาะจากบริษัท แสงเงินประกันภัย จำกัด 200,000 บาท เพราะได้จาก ผู้ที่ขับรถมาชนแล้ว 300,000 บาท ค. ได้เฉพาะจากบริษัท แสงทองประกันภัย จำกัด 300,000 บาท เพราะได้จาก ผู้ที่ขับรถมาชนแล้ว 300,000 บาท ซึ่งมากกว่าที่ได้เอาประกันภัยไว้แล้ว ง. ไม่ได้ เพราะมีผู้รับผิดชอบแทนบริษัทประกันภัยไปแล้ว 99 / 110 99. นางโมเมได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพกลุ่มไว้กับบริษัท เอประกันภัย จำกัด โดยมีสัญญาความคุ้มครองและผลประโยชน์การคลอดบุตร 30,000 บาท และไม่มีระยะเวลารอคอย (Waiting Period) หลังจากทำประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพกลุ่มได้ 7 เดือน นางโมเมได้ไปคลอดบุตรด้วยการผ่าท้องโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 28,000 บาท นางโมเมจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยเท่าใด ก. ไม่ได้รับเลย ข. 28,000 บาท ค. 30,000 บาท ง. 14,000 บาท 100 / 110 100. ตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางสำหรับบุคคลและกลุ่มทั่วไปแบบมาตรฐานให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง ก. การเสียชีวิตและค่ารักษาพยาบาล ข. การเสียชีวิตและการสูญเสียมือ เท้า และสายตา ค. การเสียชีวิตหรือการสูญเสียมือ เท้า และสายตา และค่ารักษาพยาบาล ง. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และค่ารักษาพยาบาล 101 / 110 101. นายเอกเดินทางไปเที่ยวจังหวัดลำพูน โดยได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุเดินทางสำหรับบุคคลและกลุ่มทั่วไปแบบมาตรฐานไว้ โดยมีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล 5,000 บาท ในขณะท่องเที่ยวในจังหวัดลำพูน นายเอกได้ถูกชักชวนให้ขึ้นชกมวยสมัครเล่น เมื่อนายเอกก้าวขึ้นเวทีเกิดพลาดตกบันได แขนหักจ่ายค่ารักษาพยาบาลไป 2,000 บาท นายเอกสามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยได้หรือไม่ อย่างไร ก. ไม่ได้ เพราะการชกมวยเป็นข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัย ข. ได้ 2,000 บาท ค. ได้ 5,000 บาท ง. ไม่ได้ เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมิได้เกิดในขณะเดินทางไปหรือเดินทางกลับ 102 / 110 102. ใครเป็นผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้าง ก. ผู้โดยสารเรือ ข. ลูกจ้างคนขับเรือ ค. เจ้าของเรือ ง. กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี 103 / 110 103. การประกันภัยการปฏิบัติงานตามสัญญา (Contract Work Insurance) แบ่งหมวดความคุ้มครองออกเป็นอะไรบ้าง ก. งานก่อสร้างและวิศวกรรมโยธา งานติดตั้งเครื่องจักร และความรับผิดตามกฎหมาย ต่อบุคคลภายนอก ข. เครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง และความรับผิด ต่อบุคคลภายนอก ค. งานก่อสร้างและวิศวกรรมโยธา เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้ง ง. ผู้จำหน่ายเครื่องจักร งานติดตั้งเครื่องจักร และความรับผิดต่อบุคคลภายนอก 104 / 110 104. กรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักร คุ้มครองการสูญเสียหรืออุบัติเหตุความเสียหายเนื่องจากอะไร ก. การขาดความชำนาญหรือความสะเพร่าของผู้ควบคุมเครื่องจักร ข. การขาดน้ำในหม้อน้ำ ค. ไฟฟ้าลัดวงจร ง. ถูกทุกข้อ 105 / 110 105. ความเสียหายในลักษณะใดที่ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักร ก. การถูกโจรกรรมของเครื่องจักร ข. สายพานโซ่ขาดเนื่องจากการใช้งานต่อเนื่อง ค. เครื่องจักรโดนรถคู่กรณีพุ่งเข้าชน ง. เครื่องจักรพลิกคว่ำขณะใช้งาน 106 / 110 106. ความคุ้มครองการระเบิด ภายใต้การประกันภัยหม้อกำเนิดไอน้ำและถังอัดความดัน ข้อใดถูกต้อง ก. ความเสียหายต่อหม้อไอน้ำจากวัตถุระเบิด ข. การระเบิดโดยอุบัติเหตุ จากสาเหตุแรงดันภายในหม้อไอน้ำสูงมากเกินไป ค. การระเบิดโดยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ง. เฉพาะการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก 107 / 110 107. ข้อแตกต่างของการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกกับการประกันภัยทั่วๆ ไป คือข้อใด ก. วัตถุที่เอาประกันภัยคือทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ข. วัตถุที่เอาประกันภัยคือความรับผิดตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อผู้เสียหาย ค. วัตถุที่เอาประกันภัยคือทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย ง. วัตถุที่เอาประกันภัยคือทรัพย์สินของลูกจ้างของผู้เอาประกันภัย 108 / 110 108. นายเก่งอาศัยอยู่บนอาคารชั้นที่ 3 และได้วางกระถางต้นไม้ไว้ตรงระเบียง วันที่เกิดเหตุนายเก่งได้เปิดหน้าต่างโดยไม่ได้ระมัดระวัง ทำให้ถูกกระถางต้นไม้หล่นลงมาโดนนางสมทำให้ศีรษะแตก ข้อใดถูกต้อง ก. นายเก่งต้องรับผิดชดใช้แก่นางสม ข. นายเก่งไม่ต้องรับผิดชดใช้ แต่เจ้าของอาคารที่นายเก่งอาศัยอยู่ต้องเป็นผู้ชดใช้ ค. นายเก่งไม่ต้องรับผิดชอบเพราะไม่ได้ตั้งใจ ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง 109 / 110 109. นายจอนทำสัญญาเช่าที่จอดรถของตนเองไว้กับโรงแรมบีบีซี และจอดรถไว้ที่ชั้นใต้ดินของโรงแรมได้มีฝนตกอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลา 3 วันทำให้น้ำท่วมฉับพลันทั่วทั้งอำเภอรวมถึงน้ำท่วมชั้นใต้ดินของโรงแรมทำให้รถของนายจอนลูกน้ำท่วมเสียหาย ทางโรงแรมได้ซื้อประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไว้กับบริษัท หรรษาประกันภัย จำกัด ข้อใดถูกต้อง ก. นายจอนและบริษัท หรรษาประกันภัย จำกัด ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะเป็น ภัยธรรมชาติที่ยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัย ข. บริษัท หรรษาประกันภัย จำกัด ต้องรับผิดชอบ เพราะทางโรงแรมได้ซื้อกรมธรรม์ ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไว้แล้ว ค. นายจอนและบริษัท หรรษาประกันภัย จำกัด ต้องร่วมกันรับผิด ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง 110 / 110 110. กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพ คุ้มครอง "บริษัทนายหน้าประกันภัย" อย่างไร ก. ความรับผิดจากความบกพร่องและผิดพลาดในการให้บริการ ข. ความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ค. ความรับผิดต่อการฉ้อโกงเงินค่าเบี้ยประกันภัยของลูกค้าโดยพนักงานของบริษัทนายหน้าประกันภัย ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และข้อ ข. Your score is LinkedIn Facebook Twitter VKontakte